ผ่าถุงฟอยล์ ดูโครงสร้างภายใน แล้วจะรู้ว่าถุงฟอยล์มีดี
ถุงฟอยล์ ส่วนใหญ่มีลักษณะการผลิตที่คล้ายกัน กล่าวคือ ทำด้วยวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางหลากชนิดเชื่อมหรือประสานกันด้วยกาวชนิดพิเศษ เพื่อให้ได้วัสดุที่มีคุณสมบัติ สำหรับบรรจุสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถปกป้องและป้องกันการเปลี่ยนสภาพของสินค้าภายในถุงฟอยล์ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มคุณสมบัติพิเศษต่างๆมากมายลงไปในถุงฟอยด์ เพื่อให้สามารถใช้บรรจุสินค้าได้หลากหลายชนิด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เน้นความแปลกใหม่ และเอื้อต่อการออกแบบ ให้ง่ายต่อการสร้างสรรค์ความโดดเด่นให้แก่ตัวสินค้า อันเป็นหน้าที่สำคัญของบรรจุภัณฑ์ที่ดี
ชั้นแรก เป็นวัสดุที่ถือได้ว่าเป็นโครงสร้างหลักของถุงฟอยล์ จะถูกนำไปไว้ด้านในสุดเพื่อให้เป็นส่วนที่ได้สัมผัสกับตัวผลิตภัณฑ์โดยตรง ในส่วนของชั้นนี้มักจะเป็นชั้นที่หนาและสำคัญที่สุด ในกรณีของการใช้บรรจุอาหาร ส่วนของชั้นนี้จะต้อง ทนความร้อนได้สูง และมีความแข็งแรง เพราะส่วนมากในการใช้บรรจุอาหารมักจะต้องมีการบรรจุ ปิดผนึกถุง แล้วจึงจะทำการฆ่าเชื้อ โดยใช้หม้อนึ่งความดัน ฉะนั้นถุงฟอยล์บรรจุอาหารต้องทนสภาวะการฆ่าเชื้อแบบนี้ได้ และบางครั้งอาจต้องใช้เป็นตัวเชื่อมเพื่อปิดผนึกปากถุงด้วยความร้อนได้ด้วย วัสดุที่นิยมใช้ได้แก่Polypropylene = PP และPolyethylene terephthalate = PET ซึ่งใช้ในรูปของ CPET ชั้นที่2คือชั้นกลาง ซึ่งช่วยป้องกันการซึมผ่านของความชื้น อากาศภายนอก และกันแสง วัสดุที่นิยมใช้ในชั้นนี้ได้แก่ แผ่นฟิล์มอะลูมิเนียม, แผ่นฟิล์ม EVOH, ไนลอน (nylon) และชั้นที่3ซึ่งเป็นชั้นนอกสุด ในชั้นนี้จะเน้นในเรื่องของความแข็งแรง ทนความร้อนจากภายนอกได้ดี และควรที่จะต้องพิมพ์ภาพลงไปได้ เพื่อเพิ่มความสวยงามด้วยลวดลายบนผิวของถุงฟอยล์ได้
เมื่อเรารู้ถึงความสำคัญของถุงฟอยล์ต่อวงการบรรจุภัณฑ์ สิ่งที่เราควรจะต้องทำความเข้าใจต่อมาคือ โครงสร้างภายในของถุงฟอยล์ ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้นว่าทำไมการใช้ถุงฟอยล์จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าต่างๆ เมื่อมองเห็นแล้วเข้าใจโครงสร้างของถุงฟอยล์ดีแล้วคงพอจะนึกภาพออกว่าทำไมยุคนี้ ถุงฟอยล์จึงได้เป็นที่นิยมกันมากมายเหลือเกิน